เด็กพิเศษ - ลักษณะ เด็ก พิเศษ - การ ดูแล เด็ก พิเศษ

เด็กพิเศษ

     เด็กพิเศษ มาจากคำเต็มๆว่า “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” ซึ่งหมายถึง เด็ก หรือกลุ่มเด็ก ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล และได้รบการช่วยเหลือ เป็นกรณีพิเศษ เพิ่มเติม ไปจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้ รับการพัฒนา เป็นไปอย่างเต็มตาม ศักยภาพของเขาเอง โดยการได้รับการดูแล ช่วยเหลือ ตามแบบลักษณะความจำเป็น และความต้องการของเด็ก แต่ละคน

เด็กพิเศษ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • กลุ่มเด็กที่มีความสามารถพิเศษ โดยปกติ เป็นกลุ่มเด็กที่มีระดับ สติปัญญาหรือไอคิว สูงตั้งแต่ 130 ขึ้นไป และจะมีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน หรือระดับสติปัญญาไม่สูงมาก แต่มีความสามารถเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน โดดเด่น กว่าเด็กในวัยเดียวกัน
  • กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่อง เช่น มีความบกพร่องเรื่องการสื่อสาร การับรู้ การมองเป็น การได้ยิน ความบกพร่องทางร่างกาย การเคลื่อนไหว รวมไปถึงเด็กออทิสติก ที่มีความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน
  • กลุ่มเด็กที่มีความยากจนและด้อยโอกาส คือกลุ่มเด็กที่ครอบครัวมีฐานะยากจน จึงทำให้ขาดแคลน ปัจจัยที่จำเป็น ในการเจริญเติบโต และการเรียนรู้ของเด็ก

    คำว่า "เด็กพิเศษ" ในปัจจุบันมักหมายถึง กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องเท่านั้น ส่วนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ กับกลุ่มเด็กยากจนและด้อยโอกาส มักไม่ค่อยเรียกว่าเป็นเด็กพิเศษ

     เด็กที่มีความบกพร่อง คือเด็กที่มีการพัฒนา ทางสติปัญญาช้ากว่า เด็กธรรมดาทั่วไป เนื่องจากมีการ หยุดการพัฒนาของสมอง เมื่อถึงระดับหนึ่ง

     การที่สมองของเด็ก มีการพัฒนาทางสติปัญญาช้ากว่า เด็กทั่วไป ไม่ได้หมายความว่า เด็กคนนั้นจะต้องเป็น เด็กปัญญาอ่อนเสมอไป เพราะระบบการพัฒนาการของเด็ก แต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้นการพัฒนาการ ของแต่ละคน จึงมีการพัฒนาที่ช้าเร็ว ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น เด็กบางคนคลาน หรือเดิน ก่อนเด็กคนอื่นที่เกิดพร้อมกัน แต่พูดทีหลังเด็กคนอื่นที่เกิดพร้อมกัน เป็นต้น

     เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีการพัฒนา แต่ละด้านแตกต่างกันออกไป ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ ไม่ต้องกังวลว่า ลูกของเราจะเป็นเด็กปัญญาอ่อนหรือไม่ เพราะตราบใดที่ ลูกของคุณมีพัฒนาการ และสามารถผ่านกระบวนการ ของขั้นตอนการพัฒนาการในแต่ละช่วง ไม่ว่าจะเป็น การรู้จักการยกศีรษะขึ้น รู้จักการเอื้อมมือไปจับสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ด้านหน้า การแสดงออกทางใบหน้า มีการพยายามคลาน พยายามหัดนั่ง พยายามหัดยืน พยายามหัดเดิน และการพูดออกเสียงเป็นคำต่างๆ ได้ตามระยะเวลา หรืออาจช้ากว่า เวลาเฉลี่ยที่ควรจะเป็น ก็ไม่น่าวิตกแต่อย่างใด

     แต่ถ้าหากการพัฒนาการต่างๆ ของเด็กผิดปรกติไปอย่างเห็นได้ชัด ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ทำการวินิจฉัย ว่าเด็กมีความบกพร่อง ทางด้านใด และเป็นเด็กปัญญาอ่อนจริง หรือไม่ ซึ่งถ้าหากเป็นเด็กปัญญาอ่อนจริง จะได้หา หาทางบำบัดดูแลรักษาต่อไป

เด็กพิเศษ - ลักษณะ เด็ก พิเศษ - การ ดูแล เด็ก พิเศษ

ความสำคัญของสารอาหาร กับพัฒนาการของทารก

แน่นอนว่า พ่อแม่ ทุกคนต้องการให้ลูกน้อย มีพัฒนาการ ที่ถูกต้องสมวัย หรือต้องการให้ลูกมีความ เฉลียวฉลาด จึงรับประทาน อาหารเสริมบำรุงสมอง และเพื่อเป็นการ เสริมสร้างพัฒนาการ ทางสมอง ให้กับลูกน้อย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

อ่านต่อ...