การพิพากษาคดีอาญา สำหรับเด็กและเยาวชน

การพิพากษาคดีอาญา สำหรับเด็กและเยาวชน

 

     ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชน และครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. 2534 ในหมวด 8 ว่าด้วย การพิพากษาคดีอาญา พอจะสรุป รายละเอียด ที่สำคัญๆ ได้ ดังต่อไปนี้

     ในการพิพากษาคดีอาญาแผ่นดิน ในหมวด 8 ว่าด้วย การพิพากษาคดีอาญา สำหรับเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชน และครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. 2534

     มาตรา 98 มีสาระสำคัญคือ ในการโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นวาจา หรือเป็นหนังสือ ซึ่งคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล ที่มีอำนาจในการ พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ห้ามมิให้ ระบุชื่อ หรือ มีการแสดงข้อความ หรือการกระทำการอื่นใด อันจะทำให้รู้จักตัวเด็ก หรือเยาวชน ซึ่งเป็นจำเลย เว้นแต่จะได้รับ การอนุญาตจากศาล เสียก่อน

     มาตรา 99 มีสาระสำคัญคือ เมื่อศาลได้มีคำพิพากษา หรือได้มีคำสั่ง ให้มีการลงโทษ หรือใช้วิธีการ สำหรับเด็กและเยาวชนแล้ว ต่อมา ความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏ จากรายงานของ ผู้อำนวยการสถานพินิจ หรือผู้ปกครองโรงเรียน หรือสถานกัก และฝึกอบรม หรือสถานฝึกและอบรม ของสถานพินิจ หรือ ความปรากฏจากคำร้อง ของบิดามารดาผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่ง เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่  หรือสถานศึกษาหรือ สถานฝึกอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต ตามมาตรา 20(2) ว่าข้อเท็จจริง ตามมาตรา 78 และตามมาตรา 82 ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควร ก็ให้มีอำนาจแก้ไข เปลี่ยนแปลงคำพิพากษา หรือแก้ไขคำสั่งเกี่ยวกับ การสั่งการลงโทษ หรือวิธีการสำหรับเด็ก และเยาวชนได้ กรณีที่ศาลที่แก้ไข เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ศาลที่พิพากษา หรือมีคำสั่ง ให้แจ้งให้ศาลที่พิพากษา หรือมีคำ สั่งทราบ และถ้าโทษหรือวิธีการสำหรับเด็ก และเยาวชนที่กำหนด ในภายหลัง หนักกว่าโทษ หรือวิธีการสำหรับเด็ก และเยาวชนที่เด็ก หรือเยาวชนนั้นได้รับอยู่ เด็กหรือเยาวชน นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษา หรือคำสั่งที่แก้ไขเปลี่ยน แปลงนั้นได้

     มาตรา 100 มีสาระสำคัญคือ ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษา ว่าเด็กหรือเยาวชน ซึ่งตกเป็นจำเลย ไม่มีความผิด และได้มีการปล่อยตัวเด็ก หรือเยาวชนไป ถ้าศาลเห็นสมควร ที่จะกำหนดเงื่อนไข เกี่ยวกับการความประพฤติ ของเด็ก หรือเยาวชน นั้นไว้ด้วย ก็ให้ศาลมีอำนาจในการที่จะกำหนดเงื่อนไข เพื่อ ควบคุมความประพฤติ ข้อเดียวหรือหลายข้อ ไว้ในคำพิพากษา ดังนี้

  • (1) ห้ามมิให้เด็กหรือเยาวชน เข้าไปในสถานที่ หรือท้องที่ อันจะจูงใจให้เด็ก หรือเยาวชนนั้นประพฤติชั่ว
  • (2) ห้ามมิให้ เด็กหรือเยาวชน ออกจากสถานที่อยู่อาศัย ในช่วงเวลากลางคืน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จาก บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่ง เด็กหรือเยาวชนได้อาศัยอยู่ด้วย
  • (3) ห้ามมิให้เด็ก หรืเยาวชน คบหาสมาคมกับบุคคล หรือประเภทของบุคคล ที่ศาลเห็นไม่สมควร
  • (4) ห้ามมิให้เด็ก หรือเยาวชน กระทำการใดๆ อันจะเป็นสิ่งจูงใจให้ เด็กหรือเยาวชน ประพฤติชั่ว
  • (5) ให้เด็กหรือเยาวชน ไปรายงานตัวต่อศาลหรือพนักงาน คุมประพฤติ หรือพนักงานสังคมสงเคราะห์ ที่ ผอ.สถานพินิจมอบหมาย เป็นครั้งคราว
  • (6) ให้เด็กหรือเยาวชน ไปเข้ารับการฝึกอบรม ศึกษา หรือประกอบอาชีพเป็นกิจจะลักษณะ

     ในการกำหนดเงื่อนไข ตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลกำหนดระยะเวลา ที่จะให้ เด็กหรือเยาวชน นั้นปฏิบัติตามเงื่อนไขด้วย แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือ เยาวชนผู้นั้นมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์

     มาตรา 101 มีสาระสำคัญคือ เมื่อศาลได้มีการกำหนดเงื่อนไข ตามมาตรา 100 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปให้เป็นหน้าที่ของ พนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงาน สังคมสงเคราะห์ ที่ ผอ.สถานพินิจมอบหมาย ที่จะทำหน้าที่สอดส่อง และทำรายงาน เสนอต่อศาล

     ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชน ผู้นั้นไม่มีการประพฤติปฏิบัติ ตามเงื่อนไข ที่ศาลกำหนด ศาลมีอำนาจ ในการออกหมายเรียก หรือหมายจับเด็ก หรือเยาวชนนั้น มาตักเตือน หรือส่งตัวเด็กหรือเยาวชน ผู้นั้นไปทำการกัก และอบรม หรือฝึกและอบรม ในสถานพินิจ หรือสถานที่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 20(2) แห่งหนึ่งแห่งใด เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปีก็ได้ ทั้งนี้ต้องไม่เกินกว่า เด็กหรือเยาวชน ผู้นั้นมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์

การพิพากษาคดีอาญา สำหรับเด็กและเยาวชน

วิวัฒนาการเกี่ยวกับกฎหมาย

การพิจารณา คดีความของเด็ก ที่กระทำผิด ตามกฎหมาย สามารถพิจารณา ออกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเกณฑ์ อายุต่ำกว่า 7 ปีลงมา จะไม่มีความผิดอาญา หากมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะต้องอยู่ในเกณฑ์ ของศาลคดีเยาวชน และครอบครัวฯ ส่วนการพิจารณา แบบที่สอง คือ เกณฑ์การกระทำผิด จะมีความผิดทางอาญา และเป็นความผิด ของเด็กโดยเฉพาะ

อ่านต่อ...