การทํางานล่วงเวลา กฎหมายแรงงานเด็ก - สวัสดิการคุ้มครองแรงงานเด็ก

กฎหมายแรงงานเด็ก

 

     เพื่อเป็นการ คุ้มครองแรงงาน เป็นข้อบังคับแก่ นายจ้าง และลูกจ้าง จึงได้มีการออก พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นบังคับใช้ โดยเนื้อหาสาระ จะเป็นการบัญญัติสิทธิ และหน้าที่ ระหว่าง นายจ้าง กับลูกจ้าง ให้ถือปฏิบัติ โดยการกำหนด มาตรฐาน ในการใช้แรงงาน รวมถึง การจ่ายค่าตอบแทน สวัสดิการ เพื่อให้ลูกจ้าง ที่ทำงาน ได้มีสุขภาพที่ดี มีความปลอดภัย ในการทำงาน ฯลฯ

     พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ตามมาตราที่ 44-52 หมวดที่ 4 ได้ บัญญัติถึง การใช้แรงงานเด็ก ไว้ดังนี้

  • มาตรา 44  มีเนื้อหาสาระคือ ห้ามมิให้นายจ้างทำการ จ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีทำงานโดยเด็ดขาด
  • มาตรา 45 มีเนื้อหาสาระคือ หากมีการว่าจ้างเด็กที่มีอายุ ต่ำกว่า 18 ปีทำงาน นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้
    • (1) แจ้งพนักงานตรวจแรงงาน ภายในเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ รับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าทำงาน
    • (2) ต้องจัดทำบันทึก ถึงเหตุ และสภาพการจ้างกรณี ที่มีการเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม และให้เก็บไว้ ณ สำนักงานของนายจ้าง หากเจ้าหน้าที่ พนักงานตรวจแรงงานเข้าตรวจ แรงงาน ในสถานประกอบการต้องพร้อม
    • (3) หากมีการเลิกจ้าง หรือสิ้นสุด การจ้างแรงงานเด็ก ต้องแจ้ง เจ้าพนักงานตรวจแรงงาน ภายในระยะเวลา 7 วัน นับจากวันที่ เลิกจ้างแรงงานเด็ก
  • มาตรา 46 มีสาระสำคัญคือ ในการรับเด็กเข้าทำงาน นายจ้าง ต้องจัดให้เด็ก มีเวลาพัก ในเวลาทำงาน 1 วันต้องมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงติดต่อกัน หลังจากที่แรงงานเด็ก ได้ปฏิบัติงานแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง และในช่วงเวลา 4 ชั่วโมงที่เด็กปฏิบัติงานอยู่นั้น ให้ลูกจ้างที่เป็นเด็กพักได้ ตามเวลาที่นายจ้างกำหนด
  • มาตรา 47 มีสาระสำคัญคือ ห้ามมิให้นายจ้าง ทำการจ้างแรงงานเด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงาน ในช่วงระยะเวลา 22.00 – 06.00 น. ทั้งนี้หากจะจ้างแรงงานเด็ก ทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากอธิบดี หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเท่านั้น
  • มาตรา 48 มีสาระสำคัญคือ ห้ามจ้างแรงงานเด็ก ที่มีอายุ ต่ำกว่า 18 ปีทำงานล่วงเวลา หรือทำงาน ในวันหยุดราชการ
การทํางานล่วงเวลา กฎหมายแรงงานเด็ก - สวัสดิการคุ้มครองแรงงานเด็ก

การเปลี่ยนโทษ และการใช้วิธีการสำหรับ เด็กและเยาวชน

ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. 2534 ในหมวด 9 ว่าด้วย การเปลี่ยนโทษ และการใช้วิธีการ สำหรับเด็กและเยาวชน พอจะสรุปรายละเอียดได้ ดังต่อไปนี้

อ่านต่อ...