ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก - การพัฒนาที่ยั่งยืน ความรับผิดชอบต่อสังคม

ความรับผิดชอบ และการสร้างจิตสำนึก

 

     ความรับผิดชอบ เป็นความสำนึก ที่ผู้ใหญ่สามารถ สอนให้เด็กมีความสำนึก รู้จักรับผิดชอบ ได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก สิ่งที่ผู้เป็นพ่อแม่ จะช่วยฝึกให้เด็ก เป็นคนมี ความรับผิดชอบนั้น ต้องมีการ จัดระบบในครอบครัว ให้เป็นระเบียบ

     จิตสำนึกของคน จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ จิตสำนึกภายใน และจิตสำนึกภายนอก

  • จิตสำนึกภายใน เป็นสิ่งที่ ได้รับการถ่ายทอดมาจาก บรรพบุรุษ เลือดเนื้อเชื้อไข ของพ่อแม่ ซึ่งนับได้ว่า เป็นจิตใต้สำนึก ที่อยากทำด้วยจิตใจของตัวเอง ไม่มีใครมาบังคับ หรือบงการให้ทำ
  • จิตสำนึกภายนอก เป็นการกระทำ ที่ต้องมีคน มาบงการ หรือต้องมาบังคับให้ทำ หรือการทำตามแนวทาง ที่หน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ได้กำหนดไว้

     การสร้าง ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก โดยให้สมาชิกทุกคน ในครอบครัว นั้นร่วมแรงร่วมใจกัน ในการรับผิดชอบ ทำงานร่วมกัน เพื่อให้เป็นที่พึงพอใจ ในการใช้ชีวิตร่วมกัน ในครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้เด็ก รู้จักมีความรับผิดชอบ ในหน้าที่ ของตนเองที่ได้รับมอบหมาย อีกทั้งยังช่วยให้เด็ก มีความรู้สึกว่า ตัวเองมีส่วนสำคัญ คนหนึ่งในครอบครัวอีกด้วย

     การที่พ่อแม่ ได้ทำการสอนให้ลูกรู้จัก ในความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่นั้น จะทำให้เด็กจดจำ และสำนึกในความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ เมื่อเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ก็จะมีความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่การงาน รู้จักช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งจะส่งผลให้ เป็นคนที่มีเกียจ เป็นที่รักใคร่ ของบุคคลอื่น

     สิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ ต้องตระหนักอีกอย่างหนึ่ง ในการสอนให้เด็กมี ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก คุณพ่อคุณแม่ ต้องมีความแน่ใจว่า การทำเช่นนั้น เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดี ให้กับเด็ก และไม่ควร ให้เด็ก รับผิดชอบ ในภาระที่หนักเกินไป จนเด็กไม่มีเวลาที่จะ ทำกิจกรรม ร่วมกับเพื่อน ในวัยเดียวกันได้ ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความไม่พอใจ อาจจะเป็นการสร้างปัญหา มากกว่าก็เป็นไปได้

     ในความรับผิดชอบนั้นๆ หากคุณพ่อคุณแม่ แสดงให้ลูกได้เห็นว่า สิ่งนั้นๆ ความรับผิดชอบเป็นเรื่องสำคัญ ลูกก็จะถือว่า เรื่องที่ตนเองรับผิดชอบ ก็เป็นเรืองที่สำคัญ เช่นเดียวกัน

ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก - การพัฒนาที่ยั่งยืน ความรับผิดชอบต่อสังคม

พ่อแม่ทะเลาะกัน มีผลยังไงต่อเด็ก

พ่อแม่ทะเลาะกัน ถกเถียงกันเสียงดัง บางครั้งอาจถึงขั้น ลงไม้ลงมือ ตบตีกันรุนแรง หรือ ทำลายข้าวของ ภายในบ้าน จนเกิดความเสียหาย นับได้ว่าเป็น ปัญหาครอบครัว อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบ โดยตรงกับเด็ก โดยการกระทำดังกล่าว ย่อมเป็นประสบการณ์ ที่ไม่ดีสำหรับเด็ก

อ่านต่อ...