เตรียมตัว เป็น คุณ แม่ – สิ่งที่ควรรู้ สำหรับการเป็นแม่คน

การเตรียมตัวเป็นคุณแม่

     คำว่าแม่นั้น เป็นคำที่ผู้หญิงทุกคน นับตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ รู้จักกันดี และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องใช้ชีวิต และหน้าที่รับผิดชอบ อันใหญ่หลวงกับการ ที่จะเป็น “แม่”  คน ผู้หญิงหลายคน มีความกลัวไปต่างๆ นานา เนื่องจาก ในการที่จะได้เป็น คุณแม่ได้นั้น ผู้หญิงต้อง มีการตั้งครรภ์ อย่างน้อยประมาณ 280 วันหรือ 9 เดือนนั้นเอง

การที่จะเป็นคุณแม่ได้นั้น ควรจะมีความรู้ในสิ่งต่อไปนี้

  • สำหรับอายุที่มีความเหมาะสมมากที่สุด แก่การเป็นแม่คือ อายุประมาณ 20 – 30 ปี
  • ระยะเวลาที่ปลอดการตั้งครรภ์ คือ 2 ปี
  • ควรจะมีลูกจำนวน 2 – 3 คน
  • ระยะเวลาที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
    • การฝากครรภ์ กับโรงพยาบาลที่ใกล้บ้าน
    • การปฏิบัติตนของคุณแม่ ระหว่างการตั้งครรภ์ ตอนคลอด และหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง การนอน การเดิน ฯลฯ
    • ควรเลือกรับประทานอาหาร การกินอยู่ให้มาก
    • ต้องมีความรู้เรื่องน้ำหนัก ที่จะต้องเพิ่มขึ้น เพราะต้องพึงรู้ไว้ว่า ในตัวของคุณแม่นั้น ยังมีชีวิตอีกอย่างน้อย 1 ชีวิต
    • ควรมีความรู้ในเรื่องการใช้ยา ในช่วงระยะเวลา ที่ตั้งครรภ์
    • ต้องศึกษาหาความรู้เรือง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำอย่างไรจึงจะสร้าง ภูมิคุ้มกันโรคแก่ลูก ตลอดจน หาวิธีในการเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูก
  • การคลอด จะเป็นการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ หรือ คลอดด้วยการผ่าตัด คุณหมอจะประเมิน โดยจะต้องดูที่สุขภาพของแม่ และเด็กในครรภ์ เป็นสำคัญ

คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าตอนนี้คุณตั้งครรภ์หรือไม่

  • ประจำเดือนไม่มาตามปรกติเหมือนที่เคยเป็น
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน (บางครั้งจะเรียกกันว่าการแพ้ท้อง) โดยส่วนมากจะพบ หลังที่ประจำเดือนขาดไม่มาประมาณ 1 เดือน และอาการคลื่นไส้จะหายไป หลังจากตั้งครรภ์แล้วประมาณ 4 เดือน ซึ่งอาการนี้ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ควรไปพบแพทย์ เพราะถ้าซื้อยามากินเอง อาจเป็นอันอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
  • รู้สึกได้ถึงการมีเต้านมขยายโตขึ้น และมีอาการเจ็บ ควรหาซื้อเสื้อชั้นในที่สวมใส่สบาย และประคับประคองเต้านมได้
เตรียมตัว เป็น คุณ แม่ – สิ่งที่ควรรู้ สำหรับการเป็นแม่คน

สาเหตุของการมีบุตรยาก

ภาวะการมีบุตรยาก หมายถึง การที่คู่สามีภรรยา หรือคู่สมรส ที่อยู่กินกันมาในระยะหนึ่ง แต่ไม่ใช้วิธีการคุมกำเนิดใดๆ ทั้งสิ้น และมีความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง กันเป็นไปอย่างปกติ และสม่ำเสมอ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยสถิติในประเทศ มากกว่า 15% ของคู่สมรส เป็นคู่ที่อยู่ใน ภาวะการมีบุตรยาก

อ่านต่อ...